Sunday, May 26, 2013

เตือน! ซื้อสมาร์ทโฟนระวังโดนย้อมแมว รายใหญ่โละสต๊อกเครื่องมีตำหนิ

เตือน! ซื้อสมาร์ทโฟนระวังโดนย้อมแมว รายใหญ่โละสต๊อกเครื่องมีตำหนิ

เตือนคนซื้อมือถือระวัง "ย้อมแมว" สมาร์ทโฟนดัง ร้านค้าย่อยเหมาสต๊อกสินค้ามีตำหนิมาขาย อ้างเป็นของใหม่ "ซัมซุง" ยันไม่มีนโยบายนำเครื่องมีตำหนิขายลดราคา ขณะที่วงในยอมรับเป็นเรื่องปกติในวงการมือถือ ฟากเชนสโตร์ดัง "ทีจีโฟน-ซีเอสซี" เตือนซื้อสินค้าจากร้านที่เชื่อถือได้ ด้าน "ดีแทค" เดินหน้าขาย "ไอโฟน-ไอแพด" เกรดบี ถูกกว่า 4-7 พันบาท

ภาพประกอบข่าว

ดูเหมือนเครื่อง "ย้อมแมว" กำลังกลายเป็นที่ถกเถียงในแวดวงมือถือ หลังจากมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า มีการนำเครื่องมีตำหนิ และถูกปฏิเสธภายหลังการแกะกล่องจากผู้ซื้อ มาวางขายในราคาปกติ ซึ่งที่ผ่านมามีเพียง "ดีแทค" รายเดียวที่ชัดเจนว่านำเครื่องเกรดบี "แอปเปิล" ทั้งไอโฟน และไอแพด มาลดราคาจากปกติ 4,500-7,500 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่น เช่น ไอโฟน รุ่น 4s ขนาด 64 GB วางขายที่ 20,500 บาท จากปกติ 28,000 บาท, เดอะนิวไอแพด 32 GB ขาย 19,900 บาท จากปกติ 23,500 บาท เป็นต้น โดยจะมีวางจำหน่ายที่ศูนย์บริการลูกค้าดีแทค สาขาฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต และเซ็นทรัลพลาซา บางนา เป็นต้น
สำหรับเครื่องเกรดบีของดีแทค คือเครื่องที่ลูกค้าแกะกล่องตรวจดูสินค้าภายนอกแล้วพบว่ามีตำหนิอย่างใด อย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ได้มีการเปิดใช้เครื่อง

นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็สคอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ไอโฟนเกรดบีของดีแทคได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อมั่นเพราะเป็นสินค้าที่ยังคงมีการ รับประกัน แต่ที่นำมาทำเช่นนี้เพราะนโยบายของแอปเปิลจะขายขาดสินค้าและไม่รับเปลี่ยน กรณีที่ไอโฟนและไอแพดมีตำหนิ เนื่องจากมองว่าไม่ได้มีผลกับประสิทธิภาพและการใช้งานของเครื่องแต่อย่างใด

"เครื่องเกรดบีที่เราจะนำมาจำหน่ายราคาจะแตกต่างกันไปแต่ละรุ่น บางส่วนอาจนำมาขายให้พนักงานก่อนในราคาพิเศษ จากนั้นจึงนำมาขายให้ผู้บริโภคทั่วไป ส่วนสมาร์ทโฟนที่รองรับแอนดรอยด์ ดีแทคไม่ได้นำมาทำตลาด เพราะแบรนด์ผู้ผลิตมีนโยบายรับคืนสินค้าอยู่แล้ว กรณีเครื่องนั้น ๆ มีตำหนิ โดยส่วนตัวไม่รู้ว่ายี่ห้ออื่นมีการนำเครื่องมีตำหนิไปทำตลาดในรูปแบบใดหรือ ไม่ แต่ที่บอกกันว่าร้านตู้บางแห่งซื้อเครื่องมีตำหนิต่อมาจากผู้ค้าส่งแล้วนำมา ขายราคาถูกกว่าปกติ แต่ไม่ได้บอกความจริงกับลูกค้าว่ามีตำหนิก็เป็นไปได้ แต่คิดว่าผู้บริโภคคงรู้อยู่ว่าซื้อเครื่องจากร้านตู้มีความเสี่ยงมากกว่า ซื้อจากศูนย์" นายปกรณ์กล่าว

ด้านนายไพโรจน์ ถาวรสภานันท์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีจี เซลลูล่าร์ เวิลด์ จำกัด เจ้าของร้านค้าปลีกโทรศัพท์มือถือ "ทีจีโฟน" เปิดเผยว่า ปกติเมื่อลูกค้าตรวจสภาพเครื่องเบื้องต้นแล้วไม่ซื้อ เช่น มีรอยเล็กน้อย หรือเปิดใช้งานไม่ได้ ร้านค้าจะส่งคืนไปยังเจ้าของแบรนด์ อาจมีบางส่วนที่ต้องเก็บไว้เพราะเลยกำหนดส่งคืน แต่จะไม่มีการนำมาวางขายใหม่แต่อย่างใด ซึ่งเครื่องประเภทนี้มีประมาณ 2-4%
 โดยที่แต่ละแบรนด์มีนโยบายแตกต่างกันในการจัดการกับเครื่องประเภทนี้

"ต้องยอมรับว่าการนำไปขายต่อให้ร้านค้ารายย่อยเป็นเรื่องที่มีการทำกัน ซึ่งจะราคาถูกกว่าเครื่องปกติเพราะไม่มีการรับประกันสินค้าจากศูนย์บริการ ของแต่ละแบรนด์ โดยร้านย่อยจะใช้วิธีรับประกันสินค้าให้เอง มีปัญหาอะไรก็มาที่ร้าน ซึ่งเครื่องพวกนี้แทบเหมือนเครื่องปกติ ดังนั้นร้านตู้หรือผู้ค้ารายย่อยที่เหมาซื้อไป มีโอกาสนำเครื่องเหล่านั้นไปขายเป็นมือหนึ่งใหม่ ดังนั้นผู้ซื้อควรระวัง"

แหล่งข่าวจากวงการโทรศัพท์เคลื่อนที่กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กลุ่มที่มีเครื่องเกรดบีในมือมากที่สุดเป็นกลุ่มบริษัทที่ดูแลเครื่องให้โอ เปอเรเตอร์ เพราะต้องบริการลูกค้าอย่างดีที่สุด เมื่อลูกค้าแกะกล่องตรวจดูสินค้าแล้วไม่พอใจ หรือใช้ไปไม่นานแล้วมีปัญหานำมาเปลี่ยนในระยะเวลารับประกันก็จะมีเครื่อง กลุ่มนี้อยู่ ไม่นับที่เก็บสำรองไว้ใช้ในองค์กร หรือไว้เปลี่ยนให้ลูกค้านำไปใช้ระหว่างรอซ่อม ก็จะมีการนำออกมาปล่อยขายราคาถูกให้ร้านค้ารายย่อย ทำให้มีการนำเครื่องที่ได้มากลับไปจำหน่ายใหม่ได้
นายวงศ์สมรรถ สรรเพชุดาญาณ ผู้อำนวยการธุรกิจโมบาย บริษัท คอมพิวเตอร์ ซิสเต็ม คอนเน็คชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ซีเอสซี) เปิดเผยว่า เครื่องเกรดบีของบริษัทหมายถึงเครื่องที่เปิดกล่องให้ลูกค้าตรวจดูสภาพ เครื่อง ถ้าเครื่องตัวไม่ผ่านหรือลูกค้านำมาเคลมภายใน 7 วัน บริษัทก็ต้องเก็บเครื่องไว้ โดยมีทางเลือกอยู่ 3 รูปแบบหลักคือ คืนเงินให้ร้านค้า, เปลี่ยนเครื่องใหม่คืนกลับมา และเปลี่ยนเมนบอร์ดของเครื่องกรณีมีปัญหา

2 กรณีแรกไม่ทำให้บริษัทมีปัญหา เพราะสามารถนำเครื่องที่ได้มาใหม่ไปจำหน่ายได้ทันที แต่กรณีสุดท้ายบริษัทจะนำเครื่องดังกล่าวไปขายต่อในตลาดในราคาถูกกว่าปกติ 40% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มร้านค้ารายย่อยมาเหมาซื้อไป ซึ่งถ้ามีการนำไปขายโดยอ้างว่าเป็นเครื่องใหม่ก็คงทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นผู้บริโภคควรเลือกซื้อจากร้านที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะถ้ามีปัญหาจะไม่คุ้ม
"ผู้บริโภคต้องดูสินค้าเหล่านี้ให้ดี ในความเป็นจริงก็ไม่ควรบอกลูกค้าว่า เป็นเครื่องมือหนึ่ง ซึ่งเราเองไม่มีนโยบายนำเครื่องเกรดบีมาจำหน่าย"

ด้านนายวิชัย พรพระตั้ง รองประธานธุรกิจโทรคมนาคม บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ซัมซุงไม่มีนโยบายนำเครื่องสมาร์ทโฟนที่มีตำหนิกลับมาขายใหม่ในราคาถูก แต่มีมาตรการในการดูแลลูกค้า ดังนี้เริ่มจากกรณีเปิดกล่องสินค้ามาแล้วไม่พอใจเพราะสินค้ามีตำหนิก็จะ เปลี่ยนเป็นเครื่องใหม่ให้ทันที แต่ถ้านำสินค้าออกจากร้านไปแล้วไม่สามารถขอคืนสินค้าได้ นอกจากมีปัญหากับฮาร์ดแวร์ภายใน 7 วัน จะเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ทันทีเช่นกัน หากเกินกว่านั้นจะรับซ่อมให้ตามระยะเวลาประกัน

สำหรับเครื่องที่มีตำหนิ ซัมซุงประเทศไทยจะนำกลับไปให้บุคลากรในองค์กรใช้เป็นเครื่องสำหรับฝึกอบรม การใช้งานแก่ผู้บริโภค รวมถึงนำไปใช้เป็นสินค้าตั้งโชว์หน้าร้านเพื่อให้ลูกค้าทดลองใช้งาน อีกบางส่วนจะนำไปใช้เป็นเครื่องสำรองให้ลูกค้ายืมใช้ระหว่างที่นำโทรศัพท์ ของตนส่งซ่อม หากสินค้ามีตำหนิมีจำนวนมากกว่าความต้องการในการใช้งานดังกล่าวของบริษัท ซัมซุงประเทศไทยจะใช้วิธีส่งเครื่องคืนให้บริษัทแม่ในต่างประเทศ แต่ที่ผ่านมาสมาร์ทโฟนที่มีตำหนิมีจำนวนน้อยมากไม่พอต่อการนำไปให้บุคลากร ใช้ด้วยซ้ำ

"เราไม่มีมาตรการนำเครื่องที่มีตำหนิมาวางจำหน่ายใหม่ในราคาถูก แต่ผู้ประกอบกิจการบางรายอาจมีวิธีทำธุรกิจของเขา ซึ่งเราไม่รู้เรื่อง ถามว่าเครื่องมีตำหนิที่อาจมีการนำไปจำหน่ายต่อให้ร้านตู้รายย่อยเป็น เครื่องในประเทศไทยหรือเปล่าไม่ทราบได้ แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่าลูกค้าเป็นคนตัดสินใจได้เองว่าพึงพอใจซื้อเครื่องใน รูปแบบไหน"

ที่มา: Sanook! Hitech, www.prachachat.net

No comments:

Post a Comment